หน่วยที่ 3 การใช้โปรแกรม Adobe PhotoShop 7.0 เบื้องต้น

แนวคิด
                โปรแกรม Adobe  PhotoShop 7.0  มีการใช้งานเบื้องต้นเหมือนกับโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป ส่วนการจัดการรูปภาพจะมีเครื่องมือต่าง ๆ ให้เลือกใช้  เช่น การสร้างอัลบั้มรูปภาพบนเว็บเพจด้วยคำสั่ง  Web Photo  Gallery  การพิมพ์ภาพแบบหลายรูปภาพพร้อมกันโดยจัดในรูปแบบของสติกเกอร์หรือพิมพ์แบบสตูดิโอด้วยคำสั่ง  Picture Package  เป็นต้น
บทนำ
                โปรแกรม  Adobe PhotoShop 7.0 เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดการเกี่ยวกับรูปภาพ ซึ่งโปรแกรมได้จัดเตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานตามต้องการ โดยการใช้งานเครื่องมือสามารถทำได้ง่าย และได้รูปภาพตามต้องการ เช่น การสร้างอัลบั้มรูปภาพบนเว็บเพจ การพิมพ์รูปภาพหลายรูปพร้อมกันในรูปแบบของสตูดิโอ เป็นต้น
การกำหนดมุมมอง
                การกำหนดมุมมองด้วยทูลบ็อกซ์  มี 3 แบบคือ
                1.                           Standard  Screen  Mode  ใช้แสดงหน้าจอแบบมาตรฐานปกติ
                2.                            Full  Screen  Mode  With  Menu  Bar  ใช้แสดงแบบเต็มหน้าจอโดยไม่มีแถบ         ไตเติลบาร์ของโปรแกรมและรูปภาพะ
                3.                            Full  Screen  Mode  ใช้แสดงแบบเต็มหน้าจอโดยไม่มีไตเติลบาร์และเมนูบาร์พื้นที่บริเวณรอบนอกเป็นสีดำ
การกำหนดมุมมองด้วยเมนู  View  มี 3 แบบ คือ
                1.การแสดงขนาดรูปภาพตามจริงตามจำนวนพิกเซล ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                                -คลิกที่เมนู View ->  Actual Pixels หรือกดปุ่ม  Alt + Ctrl + 0 ที่แป้นพิมพ์

2. การแสดงขนาดรูปภาพตามพื้นที่การทำงานของแต่ละรูป มีขั้นตอนดังนี้
                                -คลิกที่เมนู  View ->  Fit  on  Screen  หรือกดปุ่ม  Ctrl + 0 ที่แป้นพิมพ์
3. การแสดงขนาดรูปภาพในรูปแบบของการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ มีขั้นตอนดังนี้
                                -คลิกที่เมนู  View ->  Print  Size
การแสดง/ซ่อนไม้บรรทัด
                -คลิกที่เมนู  View ->  Rulers  ถ้าต้องการซ่อนให้คลิกที่เมนู  View -> Rulers อีกครั้ง

การแสดง/ซ่อนเส้น  Grid
                -คลิกที่เมนู  View ->  Show  -> Grids  ถ้าต้องการซ่อนให้คลิกที่เมนู  View ->  Show -> Grids             อีกครั้ง
การย่อและขยายรูปภาพ
                การย่อและขยายรูปภาพด้วยเมนู  View  มีขั้นตอนดังนี้
                1.การย่อภาพคลิกที่เมนู View ->  Zoom  Out  หรือกดปุ่ม  Ctrl + - ที่แป้นพิมพ์
                2. การขยายภาพคลิกที่เมนู  View - > Zoom  In  หรือกดปุ่ม  Ctrl + + ที่แป้นพิมพ์
                การย่อและขยายรูปภาพด้วย  Zoom  Tools
                1. คลิกที่เครื่องมือ  Zoom  Tools  เมื่อต้องการย่อ/ขยายรูปภาพโดยกำหนดคุณสมบัติของ                     Zoom tools  ในออปชันบาร์ดังนี้
2. หรือคลิกที่เครื่องมือ  Zoom  Tools  รูปเมาส์พอยเตอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปแว่นขยายมีเครื่องหมาย  + 
      จากนั้นคลิกที่รูปภาพที่ต้องการขยาย
                3. การย่อขนาดรูปภาพให้กดปุ่ม  Alt  ที่แป้นพิมพ์รูปเมาส์พอยเตอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปแว่นขยายมีเครื่องหมาย  -   จากนั้นคลิกที่รูปภาพที่ต้องการย่อขนาด
               
การจัดเรียงแฟ้มรูปภาพ
                การจัดเรียงแฟ้มภาพที่เปิดขึ้นมาพร้อมกันหลาย ๆ แฟ้มสามารถจัดเรียงได้หลายรูปแบบ ดังนี้
                1.การจัดเรียงแบบขั้นบันได
                                -คลิกที่เมนู  Windows ->  Document - >  Cascade
2. การจัดเรียงแบบให้เห็นภาพทุกแฟ้ม
                                -คลิกที่เมนู  Windows ->  Document -> Tile
การเลื่อนดูภาพด้วย  Hand  Tool
                คลิกที่  Hand  Tool              จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้ที่รูปภาพแล้วเลื่อนรูปภาพในตำแหน่งที่ต้องการ
การปรับขนาดรูปภาพและการเลื่อนรูปภาพด้วย  Navigator  Palette
                คลิกที่เมนู  Windows -> Navigator  จะปรากฏหน้าต่าง  Navigator Palette  ซึ่งมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
การสร้างไฟล์ภาพใหม่
                1.คลิกที่เมนู  File ->  New  จะปรากฏหน้าต่างที่ใช้สร้างไฟล์ภาพใหม่ ซึ่งมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
Name                                     ใช้ตั้งชื่อไฟล์ภาพ
                Preset  Sizes                        ใช้เลือกขนาดพื้นที่หน้าต่างการทำงานที่ต้องการ
                                                                หรือกำหนดขนาดหน้าต่างการทำงาน
                                                                โดยเลือกตัวเลือก Custom  และกำหนดขนาดที่
                                                                ช่องกำหนดขนาดดังนี้
                Width                                    กำหนดความกว้างของพื้นที่หน้าต่างการทำงาน
                Height                                   กำหนดความสูงของพื้นที่หน้าต่างการทำงานซึ่งมีหน่วยวัด ดังนี้
                Pixels                                     พิกเซล
                Inches                                    นิ้ว
                cm                                          เซนติเมตร
                mn                                          มิลลิเมตร
                Point                                      จุด
                Picas                                      ไพคะ
                Columns                               สดมภ์
                Resolution                            กำหนดความละเอียดของภาพซึ่งมีหน่วยวัดเป็น  Pixels/Inch
                Mode                                     กำหนดโหมดภาพ ซึ่งประกอบด้วย
                Bitmap                                  แบบจุดสี
                Grayscale                              แบบขาวดำ
                RGB  Color                         แบบ  Additive
                CMYK Color                      แบบใช้กับสิ่งพิมพ์
                Lab  Color                           แบบไม่คำนึงถึงอุปกรณ์ที่นำมาใช้
                Contents                                กำหนดรูปแบบของพื้นหลัง ซึ่งประกอบด้วย
                White                                     พื้นหลังสีขาว
                Background Color             พื้นหลังเป็นสีตามตั้งไว้ที่  Background
                Transparent                          พื้นหลังโปร่งแสง
2. เมื่อกำหนดรูปแบบของไฟล์ภาพใหม่แล้วคลิกที่ปุ่ม  OK
ตัวอย่าง การสร้างไฟล์ภาพใหม่
                1.คลิกที่เมนู  File  ->  New
                2. จะปรากฏหน้าต่างที่ใช้สร้างไฟล์ภาพใหม่ ให้กำหนดตามหน้าต่างด้านล่างนี้

                                Name                     ตั้งชื่อแฟ้มเป็น  test
                                Width                    กำหนดความกว้าง  800  Pixels
                                Height                   กำหนดความสูง  600  Pixels
                                Resolution            กำหนดรายละเอียดของภาพเป็น  72 Pixels
                                Mode                     กำหนดโหมดภาพเป็น  RGB  Mode
                                Contents                กำหนดเป็น  White
                3. คลิกที่ปุ่ม  OK  จะปรากฏพื้นที่หน้าต่างการทำงานตามที่กำหนด
การเปิดไฟล์รูปภาพ
                การเปิดไฟล์รูปภาพสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
                การเปิดไฟล์รูปภาพด้วยคำสั่ง  Open
                คลิกที่เมนู  File ->  Open  จะปรากฏหน้าต่าง  Open  คลิกเลือกไฟล์รูปภาพที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม  Open  จะแสดงไฟล์ภาพที่เลือก
การเปิดไฟล์รูปภาพด้วยคำสั่ง  File  Browser
                1.คลิกที่เมนู  File -> Browser  จะปรากฏหน้าต่าง File  Browser  คลิกโฟลเดอร์ที่ต้องการจะปรากฏภาพในโฟลเดอร์ที่เลือก ดังรูป
2. ดับเบิลคลิกรูปที่ต้องการเปิด
                3. ปิดหน้าต่าง  File  Browser  โดยคลิกที่เครื่องหมาย    X      บนหน้าต่าง  File  Browser หรือคลิกที่เมนู  Windows  ->  File  Browser
                การเปิดไฟล์รูปภาพอย่างรวดเร็วด้วยคำสั่ง  Open  Recent
                คำสั่ง  Open Recent  เป็นคำสั่งการเปิดไฟล์รูปภาพอย่างรวดเร็ว  ซึ่งจะเก็บชื่อไฟล์ภาพที่เคยเปิดใช้งานแล้วก่อนหน้า  10 ไฟล์  โดยมีขั้นตอนดังนี้
                1.คลิกที่เมนู  File -> Open  Recent  จะปรากฏชื่อไฟล์ต่าง ๆ คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการ

การบันทึกไฟล์รูปภาพ
                การบันทึกไฟล์ภาพนั้น ภาพแต่ละภาพที่ทำการบันทึกจะมีคุณภาพของภาพที่แตกต่างกันตามประเภทของไฟล์ที่เราบันทึก  ซึ่งการที่จะเลือกประเภทของไฟล์นั้นขึ้นอยู่กับงานที่ใช้ ยกตัวอย่างเช่น
                1.ไฟล์นามสกุล  .PSD  (PhotoShop File)  เป็นไฟล์ที่เก็บขั้นตอนการทำงานไว้โดยดูจากเลเยอร์การทำงาน ซึ่งสามารถนำไฟล์ไปปรับปรุงแก้ไขได้
                2. ไฟล์นามสกุล .TIFF  (Tagged  Image  File Format)  เป็นไฟล์ที่เก็บขั้นตอนการทำงานไว้โดยดูจากเลเยอร์การทำงาน  ซึ่งสามารถนำไฟล์ไปปรับปรุงแก้ไขได้
                3. ไฟล์นามสกุล  .JPG, .JPEG  (Joint  PhotoShop  Experts  Group) เป็นไฟล์ขนาดเล็ก เพราะสามารถบีบอัดข้อมูลได้  เหมาะกับการทำงานด้านเว็บเพจ
                4. ไฟล์นามสกุล .GIF (Graphics  Interchange  Format)  เป็นไฟล์ขนาดเล็กเหมือนกันกับ .JPG, .JPEG  แต่เหมาะกับงานด้านภาพลายเส้นมากกว่า

                การบันทึกไฟล์รูปภาพด้วยคำสั่ง  Save  มีขั้นตอนดังนี้
                1.คลิกที่เมนู   File ->  Save  จะปรากฏหน้าต่าง
2. คลิกที่ปุ่ม Save  จะปรากฏหน้าต่าง  JPEG  Options  ให้ปรับเปลี่ยนคุณภาพของไฟล์รูปภาพ           ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Image  Options
                Quality  คือ   คุณภาพของไฟล์รูปภาพ ประกอบด้วย
                                Low                                       คุณภาพต่ำ
                                Medium                                                คุณภาพปานกลาง
                                High                                       คุณภาพดี
                                Maximum                             คุณภาพดีสูงสุด
                                Small  File / Large File   การปรับขนาดไฟล์ภาพโดยถ้าลาก
                                                                                แถบเลื่อนไปด้านซ้ายไฟล์ภาพจะมี
                                                                                ขนาดเล็กแต่ถ้าเลื่อนไปด้านขวาไฟล์
                                                                                ภาพจะมีขนาดใหญ่
                Format  Options  คือ คุณสมบัติไฟล์รูปภาพ ประกอบด้วย
                                Baseline (“Standard”)       กำหนดเป็นไฟล์แบบมาตรฐานสามารถ
                                                                        รองรับบราวเซอร์ได้หลายบริษัท
                                Baseline Optimized           กำหนดเป็นไฟล์แบบลดคุณภาพของสี
                                                                        ลง แต่ใช้ได้กับบางบราวเซอร์
                                Progressive                       กำหนดเป็นไฟล์แบบแสดงภาพขึ้น
                                                                        มาทีละนิดขณะโหลดไฟล์ ใช้ได้กับ
                                                                        บางบราวเซอร์
                Size  คือ ขนาดของไฟล์รูปภาพซึ่งเริ่มที  14.4 Kbps  ถึง 2  Mbps
                3. จากนั้นคลิกที่ปุ่ม  OK
แท็บ Image Size
2. คลิกที่ปุ่ม  Save จะปรากฏหน้าต่าง  Save  Optimized As
3. คลิกที่ปุ่ม  Save

การสร้างอัลบั้มภาพในรูปแบบของเว็บเพจ
                การสร้างอัลบั้มภาพในรูปแบบของเว็บเพจ ไฟล์ภาพที่สร้างจะแสดงที่บราวเซอร์ ซึ่งใช้ภาพเล็กหรือชื่อรูปภาพลิงก์ไปที่ภาพใหญ่ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1.คลิกที่เมนู  File -> Automate -> Web  Photo  Gallery  จะปรากฏหน้าต่าง  Web Photo  Gallery  ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
2. เลือกรูปแบบของ  Web  Photo  Gallery
                3. ระบุ  E-mail  ที่ต้องการแสดง
                4. นามสกุลไฟล์ที่สร้าง
                5. การใช้โฟลเดอร์เพื่อสร้างเว็บเพจ
                                Folders  ประกอบด้วย
                                                Browse                                  เป็นปุ่มที่ใช้คลิกเลือกโฟลเดอร์รูปภาพที่ต้องการสร้าง
                                                                                                เว็บเพจ
                                                Include All subfolders      สร้างเว็บเพจที่มีรูปภาพอยู่ในโฟลเดอร์ย่อยด้วย
                                                Destinations                         เป็นปุ่มที่ใช้คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บเว็บเพจ
                6. การกำหนดข้อความที่ต้องการแสดงบนเว็บเพจ
                                Options   เป็นการกำหนดข้อความที่ต้องการแสดงบนเว็บเพจ ประกอบด้วย
                                                Site  Name                           ชื่อเว็บเพจ
                                                Photographer                       ชื่อเจ้าของเว็บเพจ
                                                Contact  Info                       ข้อมูลสำหรับติดต่อกับผู้สร้างเว็บเพจ
                                                Date                                       วันที่สร้างเว็บเพจ
                                                Font                                       รูปแบบตัวอักษร
                                                Font  Size                             ขนาดของตัวอักษร
                7. คลิกที่ปุ่ม  Save  จะปรากฏหน้าต่าง  Browser แสดงเว็บเพจที่สร้าง ดังรูป
การพิมพ์รูปภาพ
                การพิมพ์รูปภาพด้วยคำสั่ง  Print  with  Preview
                คลิกที่เมนู  File ->  Print  with  Preview  จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ
Center Image                       การจัดภาพให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ
                Scaled Print Size                การกำหนดขนาดรูปภาพที่จะพิมพ์ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
                Scaled                               กำหนดขนาดภาพเป็นเปอร์เซ็นต์ซึ่งเทียบกับขนาดไฟล์
                                                                รูปภาพหรือจะกำหนดโดยระบุขนาดภาพ ดังนี้
                Height                                กำหนดความสูง
                Width                                กำหนดความกว้าง
                Scale to Fit Media             กำหนดให้ภาพพอดีกับหน้ากระดาษ
                Show Bounding Box         แสดงกรอบรูปภาพเพื่อให้สามารถย่อขยายได้
                Show More Option           ซ่อนหรือแสดงออปชัน

                การพิมพ์รูปภาพด้วยคำสั่ง  Picture Package
                การพิมพ์รูปภาพด้วยคำสั่ง  Picture Package  เป็นการพิมพ์รูปภาพแบบทำสำเนา โดยจะมีรูปแบบให้เลือกว่าต้องการพิมพ์รูปภาพแบบใด  ต้องการทำสำเนากี่รูปและแต่ละรูปจะมีขนาดเท่าใด โดยจะพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวเหมือนกับการพิมพ์สติกเกอร์ตามห้างสรรพสินค้า  ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
                1.คลิกที่เมนู  File  ->  Automate ->  Picture Package  จะปรากฏหน้าต่างการทำงาน ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

                 Center Image                       การจัดภาพให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ
                Scaled Print Size                    การกำหนดขนาดรูปภาพที่จะพิมพ์ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
                Scaled                                   กำหนดขนาดภาพเป็นเปอร์เซ็นต์ซึ่งเทียบกับขนาดไฟล์
                                                             รูปภาพหรือจะกำหนดโดยระบุขนาดภาพ ดังนี้
                Height                                   กำหนดความสูง
                Width                                    กำหนดความกว้าง
                Scale to Fit Media                 กำหนดให้ภาพพอดีกับหน้ากระดาษ
                Show Bounding Box              แสดงกรอบรูปภาพเพื่อให้สามารถย่อขยายได้
                Show More Option            ซ่อนหรือแสดงออปชัน
                การพิมพ์รูปภาพด้วยคำสั่ง  Picture Package
                การพิมพ์รูปภาพด้วยคำสั่ง  Picture Package  เป็นการพิมพ์รูปภาพแบบทำสำเนา โดยจะมีรูปแบบให้เลือกว่าต้องการพิมพ์รูปภาพแบบใด  ต้องการทำสำเนากี่รูปและแต่ละรูปจะมีขนาดเท่าใด โดยจะพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวเหมือนกับการพิมพ์สติกเกอร์ตามห้างสรรพสินค้า  ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
                1.คลิกที่เมนู  File  ->  Automate ->  Picture Package  จะปรากฏหน้าต่างการทำงาน ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
Use  ประกอบด้วย
                                File                              ใช้กรณีพิมพ์รูปเพียงรูปเดียว
                                Folder                          ใช้พิมพ์รูปในโฟลเดอร์ที่เลือก โดยคลิกที่ปุ่ม  Browse
                                                                    เพื่อเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ และถ้าต้องการรูปที่อยู่ใน
                                                                    โฟลเดอร์ย่อยด้วยให้คลิกที่ปุ่ม  Include All Subfolders
                                Front most Documents  ใช้พิมพ์รูปภาพที่เปิดอยู่
                Document  ประกอบด้วย
                                Page  size             ใช้กำหนดขนาดกระดาษที่ต้องการพิมพ์
                                Layout                   ใช้เลือกรูปแบบที่ต้องการพิมพ์
                                Resolution            ใช้กำหนดความละเอียดของรูปภาพ
                                Mode                     ใช้กำหนดโหมดสีของภาพ
                                Flatten All Layers     ใช้กำหนดให้ทำสำเนาทุกภาพ
                Label  ประกอบด้วย
                                Content                 ใช้พิมพ์ข้อความที่ต้องการ โดยเลือกที่ Custom Text
                                                                ส่วนตัวเลือกอื่นจะมาจาก  File  Info  ซึ่งไม่สามารถ
                                                                ปรับเปลี่ยนได้
                                Custiom Text      พิมพ์ข้อความที่ต้องการแสดง          
                                Font                       ใช้เลือกรูปแบบของตัวอักษร
                                Font Size              ใช้เลือกขนาดของตัวอักษร
                                Color                     ใช้เลือกสีตัวอักษร
                                Opacity                 ใช้กำหนดความโปร่งใสให้กับข้อความ
                                Position                 ใช้กำหนดตำแหน่งของข้อความที่จะพิมพ์
                                Rotate                    ใช้หมุนข้อความตามมุมที่กำหนด
                2. เมื่อกำหนดรูปแบบได้ตามต้องการแล้ว  ให้คลิกที่ปุ่ม  OK